วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

คู่มือการใช้จักรยานปี ร.ศ.๑๑๘ ตอน ๒

คู่มือการใช้จักรยานปี  ร.ศ. ๑๑๘

ตอน ๒  (จบ)

   ก็แต่ว่าถ้านั่งง้อมตัวไปข้างหน้าหน่อยหนึ่งดุจในท่านั่งปรกติ แลเฉลี่ยน้ำหนักของร่างกายไปดั่งที่ว่ามาแล้ว ก็จะเปนที่บันเทาความหนักแน่นแลเมื่อยของไตหรือบั้นเอว แลสันหลัง แลตอนท้ายของสมองนั้นด้วยเปนทางป้องกันไม่ให้อวัยวะเหล่านี่รับอำนาจสทกเสทือนอันสาหัสของจักรยาน ดุจทรงตัวตรงนั้น
      อีกประการหนึ่ง ควรเอาใจใส่แก่การจัดส่วนในจักรยานนั้นให้สมแก่ร่างกายของตน ดูให้เรียบร้อยเสมอดุจเปนต้นว่า ด้ามที่มือจับถือข้างหน้านั้นอย่า
ให้สูงเกินไป ทั้งอย่าให้อานที่นั้งต่ำไป จนปลายแขนหรือศอกนั้น มั้งมือที่ถือสูงเสมอกัน แขนเหล่านั้นควรให้เหยียดตรงลงไปคล้ายๆกับขาในเวลาท่ถีบบาทะจักรให้ห่างออกไปนั้น แต่ต้องจัดอานที่นั่งให้สูงภอดี จึงจะเหยียดแขนลงมาเช่นนั้นได้
  การที่จะเฉลี่ยน้ำหนักของตัวไปตามส่วนของจักรยานนั้น ก็เสมอประหนึ่งเฉลี่ยกำลังอุษาหะที่ถีบจักรยานนั้นไปเปนส่วนๆดุจเดียวกัน
      การง้อมตัวเอนลงไปข้างหน้านั้น บางทีจะเปนการจำเปนต้องทำในเวลาวิ่งแข่งกัน แต่การวิ่งแข่งกันนั้นหาใช่การซึ่งจำเปนสำหรับรักษาความศุขสบายของร่างกายนั้นไม่ อันแท้จริงมักจะให้บังเกิดเหตุอันตรายไปได้โดยมาก ถึงผู้ที่มีกำลังอันใหญ่ยิ่ง ก็ไม่ใคร่จะพ้นจากเหตุอันตรายเหล่านั้นได้
   ข้อแนะนำในการขึ้นจักรยานเวลาขึ้นเนินแลทางชันต่างๆ
   วิธีผ่อน ลมอศาสปะสาส (ลม อะ สา ปะ สาด จะได้อ่านง่ายๆ)เปนจังหวะโดยปรกตินั้นเปนข้อสำคัญ คือต้องมิ้มปากไว้ แลหายใจให้ลมเข้าทรวงอกจนนานเปนจังหวะยืดยาว  อันแท้จริง เมื่อมีคนขึ้นจักยานขนานกันไปถึงสองคน หรือมากกว่านั้นก็ดี ก็ย่อมภากันสนทนาคุยกัน แลหัวเราะเล่นๆเปนการรื่นเริงครึกครื้นต่างๆ ก็แต่ว่าการเอิกกะเริกเช่นนี้ ถ้าเปนเวลาต้องออกกำลังอุษาหะถีบจักรยานไปเปนการพิเศษอย่างใด หรือต้องขึ้นเนินขึ้นทางชันก็ดี ก็ควรละเว้นเสียจึ่งจะดี
     ถ้าเนินอันใดชันโตรก จนเวลาถีบจักรยานขึ้นไปต้องอาปากออก จนอดให้มิ้มปากอยู่ไม่ได้นั้นแล้ว ก็ควรลงจากจักรยานเดินขึ้นไป จึ่งนับว่าเป็นอุบายอันฉลาดดี   ในเวลากำลังถีบจักรยานขึ้นเนินแลทางชัน
ก็ควรละเว้นลักษณะที่หายใจเข้าโดยรีบเร็วซ้ำๆไปเปนจังหวะถี่สั้นนั้นเสีย แต่ให้หายใจเข้าโดยจังหวะอันยืดยาว จนลงเต็มทรวงอก
  อนึ่งถ้าเวลาข้ามเนินโคกอันน้อยแต่ชันโตรกนั้น ก็ให้หายใจเข้าจนเต็มทรวกอกเปนจังหวะยืดยาว แล้วอุษาหะกลั้นใจไว้จึ่งเปนการบันเทาแก่หัวใจ ไม่ให้เต้นไปโดยรวดเร็วนัก ส่วนการที่จะป้องกันความขึงตึงของเส้นประสาธน์ ซึ่งมักเกิดขึ้น
              โดยการที่คิดอุษาหะกลั้นใจไว้นั้นเล่า

ก็ภอป้องกันละเว้นเสียได้ด้วยการใช้กำลังของเอ็นเส้น แทนอำนาจน้ำใจบังคับเอ็นเส้นที่น่าอก ให้แผ่อกไว้ตึงฉนั้น
    แม้ว่ารู้จักใช้วิธีนี้แล้ว ก็คงสามารถกลั้นใจไว้ได้นาน แลโดยคล่องแคล่วไม่เปนการลำบากทั้นไม่เปนอันตรายแก่ตัวเลย จนเปนที่อ้ศจรรย์ ถ้าไม่ทดลองก่อนแล้วแทบจะไม่เชื่อได้
         ครั้นถึงจอมเนินแล้ว ก็อย่าให้อ้าปากออกกว้างแลหายใจออกทันทีเปนทอดเดียว ดุจระเบิดลมออกไปเลย การนี้ควรให้ละเว้นทุกเมื่อ ด้วยเปนเหตุชักภาให้หัวใจบานแผ่ออกโตมาก บางทีจะทำให้เกิดเหตุอันตรายได้


ภอ =พอ
ภา=พา
อุษาหะ=อุสาหะ
เปน=เป็น

คัดลอกจาก ภาพประกอบหนังสือ
แรกมีในสยาม ภาค๒
First in siam 2
เอนก นาวิกมูล

โดย กระเบื้องดินเผาไทย
เจตนาเพื่อรักษามรดกไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น